GED คืออะไร เหมาะกับใครที่ต้องการนำคะแนนไปใช้งาน มีข้อมูลครบ

GED ถือเป็นอีกรูปแบบการสอบที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในเมืองไทย ลักษณะของการสอบเทียบวุฒิระบบการศึกษานอกโรงเรียน ดังนั้นใครที่สนใจนำคะแนนสอบเทียบนี้ไปใช้เพื่อเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยหรือวางแผนอนาคตของตนเองอย่างเหมาะสมต้องศึกษาอยางละเอียด


GED คืออะไร?

GED หรือ General Educational Development เป็นการสอบเทียบวุฒิในระดับชั้น ม.ปลาย (ม.6) ตามระบบของประเทศสหรัฐฯ (US High School Equivalency Diploma) มีการยอมรับทั้งในต่างประเทศหลายแห่งโดยเฉพาะประเทศเจ้าของหลักสูตร รวมถึงสถาบันในเมืองไทยทั้งรัฐและเอกชนหลายแห่งก็สามารถใช้คะแนนเพื่อเป็นอีกการประเมินก่อนรับสมัครเรียน 


ทำไมต้องสอบ GED ?

การสอบ GED จริงแล้วมีเป้าหมายสำคัญสำหรับคนที่อยากเรียนจบเร็วขึ้น มีวุฒิระดับ ม.6 โดยที่ยังเรียนไม่ถึงระดับดังกล่าว ซึ่งคะแนนที่ออกมาสามารถนำไปใช้ยื่นเพื่อสอบเทียบเข้าเรียนกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ หรือในเมืองไทยหลาย ๆ แห่งได้เลย


ใครบ้างที่ต้องสอบ GED?

GED เหมาะกับคนที่ต้องการเรียนจบวุฒิการศึกษาระดับมัธยมปลาย หรือ ม.6 ในบ้านเรา ภายในเวลาที่รวดเร็วขึ้น เช่น เรียนอยู่ ม.5 แต่สอบ GED ได้คะแนนผ่านก็สามารถไปยื่นสมัครเรียนมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ หรือในไทยได้เลย รวมถึงยังเหมาะกับคนที่ไม่ได้อยู่ในระบบการเรียนปกติ เช่น เป็นนักกีฬา สามารถเรียนจบเร็วขึ้น มีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป


สมัครสอบ GED อย่างไร?

ขั้นตอนการสมัครสอบ GED ไม่ใช่เรื่องยากเลย ใครที่สนใจสามารถทำตามได้จากคำแนะนำที่กำลังจะบอกต่อไปนี้

  • เข้าไปยังหน้าเว็บไซต์ www.ged.com 
  • ทำการสมัครเป็นสมาชิกของทางเว็บให้เรียบร้อยด้วยการกดปุ่ม SIGN UP เลือก Create Account กรอกข้อมูลทุกอย่างให้ครบถ้วน
  • เลือกกำหนดวัน-เวลาที่ตนเองสะดวกในการสอบ
  • ทำการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตให้เรียบร้อย
  • ผู้สมัครจะได้รับอีเมลยืนยัน ก็สามารถเตรียมพร้อมเพื่อไปสอบตามวัน-เวลาที่กำหนดไว้ได้เลย


ตารางสอบ GED สอบเมื่อไหร่?

สำหรับตารางสอบ GED จริงแล้วมีสอบทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. และจะประกาศผลสอบทันทียกเว้นรายวิชา RLA (ประกาศหลังสอบประมาณ 1 สัปดาห์) ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าในแต่ละปี หากผู้สอบไม่ผ่านวิชาใดจะสามารถ Retest ได้ไม่เกิน 3 ครั้ง และถ้ามากไปกว่านั้นต้องเว้นระยะห่างจากการสอบครั้งล่าสุดไม่ต่ำกว่า 3 เดือน 


GED สอบที่ไหน?

ปัจจุบันสถานที่สำหรับสอบ GED มีด้วยกันหลายแห่งมาก สามารถเลือกตามความเหมาะสมหรือความสะดวกของตนเองได้ ดังนี้

  • Pearson Professional Centers อาคาร BB Building, ชั้น 10 ถนนอโศกมนตรี ซอยสุขุมวิท 21 กรุงเทพฯ โทร 02-664-3563
  • KMUTT มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ โทร 080-963-6015
  • Assumption University Suvarnabhumi Campus บางนา-ตราด กม.26 บางเสาธง จ.สมุทรปราการ โทร 02-300-4543
  • Movaci Technology ถนนช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โทร 053-920-555
  • Payap University ถ.เชียงใหม่-ลำปางซุเปอร์ไฮเวย์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โทร 053-851-478
  • Thabyay Education Foundation อ.แม่สอด จ.ตาก โทร 055-534-731
  • Greater Good Education แก่นนครออฟฟิศพาร์ค อ.เมือง จ.ขอนแก่น โทร 080-260-1383
  • Phuket Academic Language School ถนนวิจิตรสงคราม อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต โทร 081-417-0978


ค่าสอบ GED เท่าไหร่?

การสอบนี้จริงแล้วจะมีค่าใช้จ่าย 2 ครั้ง เพราะคนที่จะสมัครสอบ GED ได้ ต้องผ่านการสอบ GED Ready เสมือนเป็นการประเมินพื้นฐานก่อน ค่าสอบจึงแบ่งได้ดังนี้

  • GED Ready วิชาละ 6.99 USD สอบ 4 วิชารวด 24 USD
  • GED วิชาละ 80 USD สอบ 4 วิชารวด 320 USD


GED สอบอะไรบ้าง?

การสอบ GED จะแบ่งออกเป็น 4 วิชาหลัก เพื่อประเมินทักษะและความรู้ของผู้สอบแบบรอบด้าน มีเนื้อหาการสอบที่น่าสนใจ ดังนี้

1. GED Reasoning Through Language Arts หรือ GED RLA 

ข้อสอบ GED RLA เน้นกลุ่ม Reading และ Writing ให้เวลาสอบ 150 นาที มีทั้งการเลือกคำตอบ และการสรุปเหตุผลว่าเห็นด้วยกับเนื้อหานั้น ๆ หรือไม่ การยกเหตุผลเพื่ออธิบาย จึงต้องนำเอา 2 ทักษะที่ว่านี้มาผสมกันอย่างลงตัว

2. GED Mathematical Reasoning

ข้อสอบ GED Math ให้เวลาสอบ 115 นาที เนื้อหาการสอบจะเน้นเรื่องสูตรและการคำนวณเพื่อตอบคำถามจากโจทย์ ขณะที่อีกด้านจะเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาทางพีชคณิต 

3. GED Science

ข้อสอบ GED Science ให้เวลาสอบ 90 นาที เนื้อหาการสอบจะเน้นเรื่องวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ฟิสิกส์ รวมถึงเรื่องโลกและอวกาศ มีทั้งตอบแบบตัวเลือกและตอบข้อความสั้น ๆ จากเหตุการณ์ที่ให้มา

4. GED Social Studies 

ข้อสอบ GED Social ให้เวลาสอบ 70 นาที เนื้อหากาสอบจะเน้นการประเมินทักษะด้านสังคมศาสตร์ วิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ประวัติศาสตร์อเมริกา กฎหมายและการเมือง เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์โลก 


เตรียมตัวสอบ GED

1. เข้าใจแนวทางการสอบที่ชัดเจน

ก่อนจะสอบ GED ต้องรู้แนวทางการสอบที่ชัดเจน เช่น มีการสอบ GED Ready เพื่อประเมินทักษะเบื้องต้นทั้ง 4 วิชา สร้างความมั่นใจกับตัวผู้สอบ มีโอกาสสอบผ่านเมื่อถึงช่วงของการสอบ GED จริง คะแนน GED Ready ต้องผ่านที่ 155 คะแนน ส่วน GED สอบผ่านที่วิขาละ 165 คะแนน รวม 660 คะแนนขึ้นไป

2. มีความรู้และเข้าใจภาษาอังกฤษ

ข้อสอบจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดทุกวิชา จึงไม่ใช่แค่การท่องศัพท์หรือจำเทคนิคเพื่อสอบเท่านั้น แต่ต้องมีความรู้และเข้าใจในภาษาอังกฤษในระดับที่แปลความหมายโจทย์ได้แบบครบถ้วนที่สุด เพื่อให้การสอบราบรื่น สบายใจ

3. เน้นทำแบบฝึกหัดทุกวิชา

ข้อนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังไงก็ต้องพยายามหมั่นฝึกทำแบบฝึกหัด หรือทำข้อสอบเก่า ๆ ของ GED ทุกวิชา ยิ่งวิชาไหนตนเองไม่ค่อยถนัดต้องขยันทำมากกว่าปกติ จะช่วยสร้างความมั่นใจ พร้อมเรียนรู้โจทย์เพื่อหาทักษะตอบคำถามได้แม่นยำขึ้น

4. มีคอร์สติวสอบเป็นอีกตัวช่วย

เพื่อสร้างความมั่นใจและยังช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีศักยภาพ คอร์สติวสอบ GED จึงเป็นอีกวิธีที่ได้รับความนิยม สอนโดยติวเตอร์มากประสบการณ์ นำเทคนิคต่าง ๆ มาบอกต่อให้มากที่สุด โอกาสสอบทำคะแนนตามเป้าไม่ยากเลย


GED เข้าคณะไหนได้บ้าง?

สำหรับคนที่สนใจยื่นคะแนน GED เพื่อเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาตรีกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จะขอยกตัวอย่าง 5 สถาบันดังและคณะที่ใช้คะแนนดังกล่าวยื่นได้เลย

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะอักษรศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะครุศาสตร์
  • สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร

2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์เฉพาะสาขาเทคโนโลยียานยนต์ : V-TECH , SOFT-EN
  • คณะศิลปศาสตร์ยกเว้นสาขาเยอรมัน รัสเซีย และภาษาไทย
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • คณะวิทยาลัยนวัตกรรม
  • วิทยาลัยสหวิทยาการ
  • วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วยอึ้งภากรณ์
  • คณะสหเวชศาสตร์ สาขาการจัดการกีฬาและการฝึกสอนกีฬา
  • คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์สาขาวิทยาการเรียนรู้
  • คณะนิติศาสตร์

3. มหาวิทยาลัยมหิดล

  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะศิลปะศาสตร์
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • คณะวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  • คณะเกษตร
  • คณะประมง
  • คณะวนศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • คณะสังคมศาสตร์
  • คณะสัตวแพทยศาสตร์
  • คณะอุตสาหกรรมเกษตร
  • คณะเทคนิคการสัตวแพทย์
  • คณะมนุษยศาสตร์
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • คณะสิ่งแวดล้อม
  • วิทยาลัยการชลประทาน
  • วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ

5. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะมนุษยศาสตร์
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • คณะพลศึกษา
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • คณะสังคมศาสตร์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม
  • วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน
  • คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะพยาบาลศาสตร์