TU-GET คืออะไร อยากเข้าเรียนธรรมศาสตร์ต้องทำความเข้าใจให้ครบ

TU-GET หรือ Thammasat University General English Test เป็นข้อสอบอีกประเภทที่ได้รับความนิยมมากสำหรับคนที่วางแผนเข้าเรียนต่อกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื้อหาส่วนใหญ่จะเน้นทดสอบภาษาอังกฤษ ดังนั้นใครที่สนใจ ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม มาอ่านรายละเอียดทางนี้ได้เลย มีบอกครบถ้วนทั้งหมด


TU-GET คืออะไร ?

TU-GET คือ รูปแบบการทดสอบความรู้ ทักษะในด้านภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับผู้ที่ต้องการนำคะแนนไปใช้ยื่นสมัครเรียนต่อกับทางสถาบันตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ส่วนมากจะใช้กับหลักสูตรนานาชาติ แต่ก็มีหลายคณะที่นำคะแนนดังกล่าวมาใช้เป็นส่วนหนึ่งเพื่อการประเมินด้วย


ทำไมต้องสอบ TU-GET ?

การสอบ TU-GET เสมือนเป็นแนวทางเบื้องต้นที่ทางคณะนั้น ๆ จะใช้ประเมินผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาต่อว่ามีความรู้ด้านภาษาอังกฤษมากน้อยเพียงใด เพิ่มโอกาสในการต่อยอดรายวิชาต่าง ๆ และสำเร็จการศึกษาได้ตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้


ใครบ้างที่ต้องสอบ TU-GET ?

คนที่สนใจเข้าเรียนต่อกับทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะคนที่วางแผนเข้าเรียนหลักสูตรนานาชาติ รวมถึงอีกหลายคณะที่มีการกำหนดไว้ว่าต้องใช้คะแนน TU-GET จึงจำเป็นต้องทำการทดสอบเพื่อนำคะแนนที่ได้ไปยื่นเป็นส่วนหนึ่งของการสมัครเรียน


TU-GET PBT คือ

TU-GET PBT คือ รูปแบบการสอบ TU-GET ด้วยการใช้กระดาษ Paper Based ฝนข้อตอบที่ถูกต้องลงไป เพื่อประเมินทักษะและความรู้ในด้านภาษาอังกฤษตามแนวทางของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


TU-GET CBT คือ

TU-GET CBT คือ รูปแบบการสอบ TU-GET ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ตอบคำถาม Computer Based เพื่อประเมินทักษะและความรู้ในด้านภาษาอังกฤษตามแนวทางของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


เปรียบเทียบ TU-GET PBT VS TU-GET CBT


1. รูปแบบการสอบ TU-GET PBT VS TU-GET CBT

TU-GET PBT เป็นการสอบโดยใช้กระดาษคำตอบ ผู้สอบต้องฝนคำตอบที่ถูกต้องลงไป Paper Based Test 

TU-GET CBT เป็นการสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์ตอบคำถาม Computer Based Test


2. เนื้อหาการสอบ TU-GET PBT VS TU-GET CBT

TU-GET PBT ข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 3 พาร์ท ในด้านภาษาอังกฤษ ได้แก่ Grammar (ไวยากรณ์), Vocabulary (คำศัพท์) และ Reading (การอ่าน)

TU-GET CBT ข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 4 พาร์ท ในด้านภาษาอังกฤษ ได้แก่ Reading (การอ่าน), Listening (การฟัง), Writing (การเขียน) และ Speaking (การพูด)


3. คะแนนสอบ TU-GET PBT VS TU-GET CBT

TU-GET PBT จะมีคะแนนรวม 1,000 คะแนน แยกเป็น Grammar และ Vocabulary พาร์ทละ 250 คะแนน และ Reading 500 คะแนน

TU-GET CBT จะมีคะแนนรวม 120 คะแนน แบ่งออกเป็นพาร์ทละ 30 คะแนน


4. ประกาศผลสอบ TU-GET PBT VS TU-GET CBT

TU-GET PBT ผลสอบออกผ่านออนไลน์ภายใน 3 วัน และมีการจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ 1 สัปดาห์ หลังสอบ

TU-GET CBT ผลสอบออกผ่านออนไลน์ภายใน 15 วัน และมีการจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ 1 สัปดาห์ หลังสอบ


5. การสมัครสอบ TU-GET PBT VS TU-GET CBT

TU-GET PBT สมัครสอบได้ทาง http://tuget.litu.tu.ac.th/pbt เปิดรับสมัครทุกวันที่ 1-10 ของทุกเดือน และจะทำการสอบช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของเดือน

TU-GET CBT สมัครสอบได้ทาง http://tuget.litu.tu.ac.th/cbt เปิดรับสมัครทุกวันที่ 11-15 ของทุกเดือน และจะทำการสอบช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของเดือน


6. ค่าสอบ TU-GET PBT VS TU-GET CBT

TU-GET PBT มีค่าใช้จ่ายครั้งละ 500 บาท กรณีสมัครช้าจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเป็น 700 บาท และต้องสมัครที่สถาบันเท่านั้น

TU-GET CBT มีค่าใช้จ่ายครั้งละ 1,500 บาท กรณีสมัครช้าจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเป็น 1,700 บาท และต้องสมัครที่สถาบันเท่านั้น


เตรียมตัวสอบ TU-GET

1. ประเมินทักษะด้านภาษาอังกฤษขอบตนเอง

ด้วยการเป็นข้อสอบที่วัดความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ผู้ที่จะสอบ TU-GET จึงต้องมีการประเมินทักษะของตนเองให้พร้อมก่อนว่าถนัดในด้านใด และยังขาดทักษะเรื่องไหนอยู่บ้าง เพื่อจะได้วางแผนหาความรู้ต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้การสอบผ่านง่ายขึ้น

2. ทำแบบฝึกหัดและข้อสอบเก่าบ่อย ๆ

เรื่องนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก การทำข้อสอบเก่าและแบบฝึกหัดทบทวนเป็นประจำจะช่วยให้เกิดความเข้าใจ รู้แนวทางข้อสอบ และสไตล์ของคำถามได้อย่างละเอียดมากขึ้น และยังสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมอื่นที่ตนเองยังไม่ค่อยเก่งเสริมเข้าไปได้ ยิ่งช่วงใกล้สอบแนะนำให้ทำข้อสอบหรือแบบฝึกหัดพร้อมการจับเวลาจริง

3. หาความรู้ภาษาอังกฤษเพิ่มเติม

ไม่ว่าจะเป็นการอ่านบทความ นิตยสาร หนังสือ หรืออื่นใดก็ได้แต่เน้นเป็นภาษาอังกฤษ การดูซีรี่ย์ การ์ตูน สารคดี กีฬา ก็ปรับเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ทำให้สิ่งเหล่านี้อยู่ในชีวิตรอบตัว จะช่วยเพิ่มความเข้าใจ และใช้งานได้คล่องมากขึ้น

4. ติวสอบกับคอร์สเรียนพิเศษ

มองหาคอร์ส TU-GET เพื่อติวสอบให้กับตนเอง จะเป็นคอร์สฟรีออนไลน์หรือคอร์สเสียเงินก็ไม่มีปัญหา ซึ่งข้อดีของการเรียนกับติวเตอร์จะช่วยให้ทุกคนมีเทคนิคเพิ่มเติมดี ๆ เพื่อเอาไว้ใช้สอบได้ รวมถึงยังได้เน้นย้ำกับเนื้อหาหลักที่มักออกสอบบ่อย มีทักษะและความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น