CU-ATS คืออะไร เรียนต่อจุฬา อินเตอร์ วิศวและสายวิทย์ ต้องรู้

CU-ATS หรือ Aptitude Test for Science of Chulalongkorn University เป็นอีกรูปแบบการทดสอบความรู้จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับคนที่มีเป้าหมายในการเรียนต่อหลักสูตรนานาชาติ และต้องการเข้าเรียนกับ 2 คณะอย่างวิศวกรรมศาสตร์ กับ คณะวิทยาศาสตร์ ควรศึกษาข้อมูลแบบรอบด้านมากที่สุด



CU-ATS คืออะไร ?

CU-ATS คือ ข้อสอบเพื่อใช้ในการประเมินทักษะ ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งมีการออกข้อสอบโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลือกได้ทั้งการสอบแบบกระดาษคำตอบและการสอบแบบคอมพิวเตอร์ เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยคัดเลือกนักศึกษาเพื่อเข้าเรียนต่อตามแนวทางของคณะที่กำหนดไว้



ทำไมต้องสอบ CU-ATS ?

การสอบ CU-ATS จะเป็นวิธีที่ช่วยประเมินน้อง ๆ ในระดับมัธยมปลายที่วางแผนจะเข้าเรียนต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างความมั่นใจว่าเมื่อเข้าเรียนแล้วจะมีความรู้มากพอ สามารถนำไปต่อยอดและเรียนจบได้อย่างมีคุณภาพ



ใครบ้างที่ต้องสอบ CU-ATS ?

น้อง ๆ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ตั้งเป้าหมายของตนเองในการเข้าเรียนต่อหลักสูตรนานาชาติของทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ISE) และ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมีประยุกต์ (BSAC) 



สมัครสอบ CU-ATS อย่างไร ?

  1. เป็นการสมัครสอบออนไลน์ เข้าไปยังหน้าเว็บไซต์ www.register.atc.chula.ac.th 
  2. กรอกข้อมูลส่วนให้ครบถ้วน จากนั้นทำการล็อกอิน 
  3. เลือกเมนูสมัครสอบ เลือกศูนย์สอบ รอบสอบ วันที่ในการสอบให้เรียบร้อย
  4. พิมพ์ใบการชำระเงินและชำระผ่านช่องทางที่ระบุภายในวัน-เวลาที่กำหนด
  5. ตรวจสอบสถานะของตนเองภายใน 10.00 น. ของวันถัดไป
  6. เมื่อมีรายชื่อเรียบร้อย ก็พร้อมสำหรับการสอบตามวัน-เวลาที่กำหนดทันที



รายละเอียดการสอบ CU-ATS

การสอบ CU-ATS จะมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 รายวิชา เพื่อประเมินความรู้ มีรายละเอียด ดังนี้


1. CU-ATS Physics

ข้อสอบวิชาฟิสิกส์ มีทั้งสิ้น 30 ข้อ ให้เวลาสอบ 60 นาที เนื้อหาการสอบมักเกี่ยวข้องกับเรื่อง Structure of Matter, Atom Theory and Structure, Molecular Structure, Bonding, States of Matter, Gases, Solutions, Reaction Types, Acids and Bases, Oxidation-Reduction, Stoichiometry, Mole Concept, Chemical Equations, Equilibrium and Reaction Rates, Thermochemistry, Descriptive Chemistry คะแนนเต็ม 800 คะแนน


2. CU-ATS Chemistry

ข้อสอบวิชาเคมี มีทั้งสิ้น 55 ข้อ ให้เวลาสอบ 60 นาที เนื้อหาการสอบมักเกี่ยวข้องกับเรื่อง Mechanics, Electricity and Magnetism, Waves, Heat, Kinetic, Theory and Thermodynamics, Modern Physics และ Miscellaneous คะแนนเต็ม 800 คะแนน



CU-ATS สอบเมื่อไหร่ ?

สำหรับการสอบ CU-ATS ในแต่ละปีจะจัดขึ้นประมาณ 5-6 ครั้ง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ซึ่งมักมีการสอบในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม กรกฎาคม พฤศจิกายน และธันวาคม ทั้งหมดเป็นการสอบในรอบเช้า 09.00 – 11.00 น. 



CU-ATS สอบที่ไหน ?

ในส่วนของสถานที่สอบ CU-ATS จะขึ้นอยู่กับการกำหนดในแต่ละรอบสอบ หรือแต่ละปีที่มีการจัดสอบโดยทางศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะทำการระบุเอาไว้ในขั้นตอนของการสมัครสอบ สามารถเช็กข้อมูลกันได้เลย



CU-ATS PBT คือ

CU-ATS PBT คือ รูปแบบการสอบ CU-ATS โดยใช้กระดาษคำตอบ เพื่อประเมินความถนัดในรายวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับผู้ที่สนใจเข้าเรียนต่อหลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามคณะที่ได้กำหนดเอาไว้ ประกาศผล 2 สัปดาห์หลังการสอบ



CU-ATS CBT คือ

CU-ATS CBT คือ รูปแบบการสอบ CU-ATS โดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อประเมินความถนัดในรายวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับผู้ที่สนใจเข้าเรียนต่อหลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามคณะที่ได้กำหนดเอาไว้ รู้ผลทันทีหลังจากสอบเสร็จ



CU-ATS e-Package คือ

CU-ATS e-Package คือ การเลือกสมัครสอบ CU-ATS และ CU-AAT ในรูปแบบคอมพิวเตอร์ CBT พร้อมกัน เพื่อนำไปใช้ยื่นศึกษาต่อกับหลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 



ค่าสอบ CU-ATS PBT เท่าไร?

สำหรับค่าสอบ CU-ATS PBT ซึ่งเป็นการสอบรูปแบบกระดาษ มีการประกาศผลหลังสอบ 2 สัปดาห์ คะแนนมีอายุ 2 ปี ราคาอยู่ที่ 1,000 บาท



ค่าสอบ CU-ATS CBT เท่าไร?

สำหรับค่าสอบ CU-ATS CBT ซึ่งเป็นการสอบรูปแบบคอมพิวเตอร์ ประกาศผลสอบทันที คะแนนมีอายุ 2 ปี ราคาอยู่ที่ 2,600 บาท



ค่าสอบ CU-ATS e-Package เท่าไร?

ในส่วนของค่าสอบ CU-ATS e-Package ซึ่งเป็นการสมัครเพื่อสอบพร้อมกันทั้ง CU-ATS และ CU-AAT มีค่าสมัครสอบอยู่ที่ 4,000 บาท



เตรียมตัวสอบ CU-ATS

1. ทบทวนความรู้ของตนเองที่มีทั้งหมด

ด้วยรูปแบบการสอบของ CU-ATS มีความเฉพาะทางสูงมาก เน้นเรื่องวิชาฟิสิกส์กับเคมี ดังนั้นน้อง ๆ ที่จะเข้าสอบจึงต้องทบทวนความรู้ของตนเองทั้งหมดให้ละเอียด มีเรื่องไหนที่ถนัด และเรื่องไหนที่ไม่ค่อยถนัด เพื่อการศึกษาเพิ่มเติมได้อย่างเหมาะสม


2. ฝึกทำข้อสอบเก่า แบบฝึกหัดเป็นประจำ

เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เมื่อรู้ว่าตนเองจะสอบ CU-ATS เพื่อนำคะแนนไปใช้ ต้องหมั่นฝึกทำข้อสอบเก่าที่เคยมีการสอบมาแล้ว รวมถึงแบบฝึกหัดต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความคุ้นชิน เมื่อสอบจริงจะไม่รู้สึกเครียดเกินไป ยิ่งช่วงใกล้สอบแนะนำให้ทำแบบจับเวลาด้วย


3. มองหาคอร์สติวเพื่อเสริมความรู้

อีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสอบ CU-ATS มีคะแนนดีตามเป้าหมาย นั่นคือต้องมีคอร์สติวชั้นยอด และด้วยการเป็นข้อสอบที่มีความเฉพาะตัวสูง จึงอยากแนะนำให้เลือกเรียนกับติวเตอร์ที่มีประสบการณ์ด้านนี้โดยตรง จะช่วยแนะนำ ไกด์ไลน์แนวทางการสอบ บอกเทคนิค และข้อมูลสำคัญที่สามารถนำไปใช้สอบได้จริง

รายชื่อ นร ที่สอบติด ISE CU