CU-AAT คืออะไร คนที่เข้าเรียนต่อจุฬา อินเตอร์ ต้องศึกษาให้ดี

CU-AAT หรือ Chulalongkorn University Academic Aptitude Test เป็นอีกแบบทดสอบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ถูกพูดถึงกันในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะใครที่วางแผนอยากเข้าเรียนต่อกับสถาบันแห่งนี้ในภาคอินเตอร์ ต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อเพิ่มโอกาสในได้เรียนตามเป้าหมายที่คาดหวังเอาไว้


CU-AAT คืออะไร ?

CU-AAT คือ รูปแบบการทดสอบเพื่อวัดทักษะ ความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ ออกข้อสอบโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินทดสอบผู้ที่ต้องการยื่นเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาติ


ทำไมต้องสอบ CU-AAT ?

การสอบ CU-AAT ถูกใช้เพื่อคณะต่าง ๆ ตามหลักสูตรนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินความเหมาะสมของผู้สมัครเรียนแต่ละคนได้ว่าสามารถเรียนตามเนื้อหาต่าง ๆ ที่จะมีการสอนได้อย่างไร้ปัญหา ซึ่งลักษณะข้อสอบจะมีความใกล้เคียงกับการสอบ SAT


ใครบ้างที่ต้องสอบ CU-AAT ?

น้อง ๆ ทุกคนที่มีเป้าหมายในการเข้าเรียนต่อหลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำเป็นต้องสอบ CU-AAT เพื่อใช้คะแนนดังกล่าวเป็นอีกส่วนหนึ่งในการประเมินความรู้และความพร้อมของตนเอง ซึ่งคนที่จะเข้าคณะ ISE, EBA, BALAC, INDA, JIPP ยังไงก็ต้องสอบแน่นอน


สมัครสอบ CU-AAT อย่างไร ?

  1. ใช้รูปแบบการสมัครสอบออนไลน์ เข้าไปยังหน้าเว็บไซต์ www.register.atc.chula.ac.th 
  2. กรอกข้อมูลของตนเองให้ครบถ้วนเพื่อรับล็อกอินกับพาสเวิร์ด 
  3. ล็อกอินเข้าสู่ระบบ เลือกเมนูสมัครสอบ เลือกศูนย์สอบ รอบสอบ วันที่ในการสอบให้เรียบร้อย
  4. พิมพ์ใบการชำระเงินและชำระผ่านช่องทางที่ระบุภายในวัน-เวลาที่กำหนด
  5. ตรวจสอบสถานการณ์สมัครของตนเองภายใน 10.00 น. ของวันถัดไป
  6. เมื่อมีรายชื่อเรียบร้อย ก็พร้อมสำหรับการสอบตามวัน-เวลาที่กำหนดทันที


รายละเอียดการสอบ CU-AAT

การสอบ CU-AAT จะแบ่งออกเป็น 2 รายวิชา ตามที่ได้ระบุเอาไว้ ซึ่งแต่ละวิชาจะมีเนื้อหาในการสอบดังนี้

  1. Mathematics ข้อสอบวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ เนื้อหาสอบที่เกี่ยวข้องจะประกอบไปด้วย Arithmetic, Algebra, Geometry, Problem Solving จำนวน 55 ข้อ เวลา 70 นาที คะแนนรวม 800 คะแนน
  2. Verbal ข้อสอบวัดทักษะทางภาษาอังกฤษ เนื้อหาสอบที่เกี่ยวข้องจะประกอบไปด้วย 2 พาร์ท จำนวน 55 ข้อ เวลา 70 นาที คะแนนรวม 800 คะแนน ดังนี้
  • Reading Part – Sentence Completions 10 ข้อ และ Passage-Based Reading - Problem Solving 23 ข้อ
  • Writing Part - Improving Sentences 10 ข้อ Identifying Sentence Errors 8 ข้อ Improving Paragraphs 4 ข้อ


CU-AAT สอบเมื่อไหร่ ?

สำหรับการสอบ CU-AAT แต่ละปีจะมีตารางสอบแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับการกำหนดวัน-เวลา และปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ อย่างไรก็ตามปกติแล้ว CU-AAT จะมีการสอบปีละประมาณ 5-6 ครั้ง เฉลี่ยเป็นช่วงต้นปี กลางปี และปลายปี


CU-AAT สอบที่ไหน ?

ปกติแล้วการสอบ CU-AAT จะสอบกันที่ อาคารมหามกุฎ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ในบางปีหรือบางรอบอาจมีการย้ายสถานที่สอบชั่วคราวได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


CU-AAT PBT คือ

CU-AAT PBT คือ รูปแบบการทดสอบที่จะใช้กระดาษข้อสอบในการตอบคำถาม ผลคะแนนจะประกาศหลังสอบเสร็จไม่เกิน 2 สัปดาห์ คะแนนมีอายุ 2 ปี นับจากวันที่สอบ 


CU-AAT CBT คือ 

CU-AAT CBT คือ รูปแบบการทดสอบที่จะทำข้อสอบผ่านระบบคอมพิวเตอร์ รู้ผลคะแนนทันทีหลังสอบ คะแนนมีอายุ 2 ปี นับจากวันที่ทำการสอบ


CU-AAT e-Package คือ

CU-AAT e-Package คือ รูปแบบการสมัครสอบ 2 ประเภทการสอบในครั้งเดียว ได้แก่ CU-ATS (CBT) สำหรับคนที่ต้องการศึกษาต่อปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ สอบแบบคอมพิวเตอร์ กับ CU-AAT 


ค่าสอบ CU-AAT PBT เท่าไหร่ ?

สำหรับค่าสอบ CU-AAT PBT ซึ่งเป็นการสอบด้วยรูปแบบการใช้กระดาษคำตอบ จะอยู่ที่ครั้งละ 1,300 บาท


ค่าสอบ CU-AAT CBT เท่าไหร่ ?

สำหรับค่าสอบ CU-AAT CBT ซึ่งเป็นการสอบด้วยรูปแบบคอมพิวเตอร์ในการตอบคำถาม จะอยู่ครั้งละ 2,900 บาท


เตรียมตัวสอบ CU-AAT 

1. หาข้อมูลเกี่ยวกับการสอบให้ชัดเจน

เมื่อรู้แล้วว่าน้อง ๆ มีความตั้งใจอยากเรียนต่อในระดับปริญญาตรีกับหลักสูตรนานาชาติ ก็ต้องมีการหาข้อมูลข้อสอบทุกอย่างให้ชัดเจน เช่น เนื้อหาการสอบที่ระบุไปแล้วว่ามีกี่วิชา สอบอะไรบ้าง ตรงนี้ช่วยให้การเตรียมข้อมูลง่ายขึ้น มีหนังสือ หรือบทความเอาไว้อ่านทบทวนกันอยู่ตลอด

2. ทำแบบฝึกหัด หรือข้อสอบเก่า

วิธีนี้จะทำให้ทุกคนมั่นใจมากขึ้น ข้อสอบ CU-AAT ที่ออกมามีเนื้อหาชัดเจน มองเห็นภาพมากขึ้นว่าลักษณะของพาร์ทต่าง ๆ เป็นแบบไหนบ้าง ยิ่งช่วงใกล้ถึงวันสอบจริงต้องลองทำข้อสอบด้วยการจับเวลาเหมือนอยู่ในห้องสอบจริง ลดความประหม่า ความกดดันต่าง ๆ ลงได้เยอะมาก

3. ติวสอบกับติวเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญ

การติวสอบถือเป็นอีกเทคนิคที่ได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะคนที่เลือกติวเตอร์มืออาชีพ มากประสบการณ์ ความรู้ ทักษะต่าง ๆ จะถูกถ่ายทอดออกมาอย่างละเอียดที่สุด พร้อมด้วยเทคนิคที่ทุกคนเอาไปใช้งานได้จริง ทบทวนเนื้อหาหลัก ๆ ที่ต้องเน้นให้ละเอียดทุกจุดมากที่สุด

4. วางแผนในวันสอบให้ดี

ท้ายที่สุดอย่าลืมวางแผนในวันสอบของตนเองให้ดี โดยเฉพาะเรื่องการเดินทางอันถือเป็นหัวใจสำคัญมาก เพราะถ้าหากไปถึงช้ากว่าที่กำหนดก็เท่ากับหมดสิทธิ์สอบทันที ควรเผื่อเวลาให้ถึงที่หมายไม่ต่ำกว่า 30 นาที จะได้มีเวลาพัก ทบทวนผ่าน ๆ อีกรอบ โอกาสสอบได้ไม่ใช่เรื่องยากเลย